top of page

พลังสันติภาพของศาสนาคือความอยู่รอดของมนุษยชาติ


๑. บทนำ

ในขณะที่มนุษย์ร่วมโลกกำลังเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง และความรุนแรง อันเนื่องจากการขาดขันติธรรมทางศาสนา (Religious Tolerance) ซึ่งสะท้อนผ่านพฤติกรรมของคนบางคน หรือบางกลุ่มที่อ้างตัวว่าเป็นศาสนิกของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่ขาดการเคารพ และขาดการให้เกียรติต่อหลักการ สัญลักษณ์ และความเชื่อทางศาสนาอื่นๆ ในวิถีทางที่ไม่เหมาะสมโดยการแสดงออกทางกาย และวาจาในเชิงลบมิติต่างๆ เช่น การวาดการ์ตูน การจัดทำภาพยนต์ หรือคลิบวีดิโอ และการลบหลู่คัมภีร์ หรือรูปปั้น การดำเนินการดังกล่าว แม้จะตั้งใจ หรือกระทำการด้วยความคึกคนองโดยขาดความยั้งคิด แต่เมื่อกระทบอารมณ์ และความรู้สึกของของกลุ่มคนที่มีความเชื่อแตกต่างแล้ว ย่อมเป็นเรื่องง่ายที่จะทำให้ความขัดแข้งได้ปะทุตัวออกจนกลายเป็นความรุนแรง และในหลายสถานการณ์ วิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นได้เดินทางไปสู่สภาวะที่กำลังตีบตัน อีกทั้งอับจนหนทางในการแสวงหาทางออกอย่างสันติระหว่างเพื่อนร่วมโลก โศกนาฏกรรมสุดท้ายที่มักจะเกิดขึ้นคือ ความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สิน ท่ามกลางเสียงร้องไห้ และหยาดน้ำตาของเพื่อนร่วมโลก
คำถามที่สำคัญก็คือ แม้ว่ามนุษยชาติจะแตกต่างกันทั้งศาสนาและความเชื่อ แต่ในฐานะที่เป็นมนุษย์ร่วมโลกที่รักความสุข เกลียดกลัวความทุกข์เช่นเดียวกัน พลังทางศาสนาในมิติต่างๆ จะเข้าไปช่วยฟื้นฟู และเชื่อมสมานสังคมโลกให้สามารถปรับวิธีคิด และท่าทีของการอยู่ร่วมกันได้อย่างไร จึงจะทำให้มนุษยชาติสามารถดำรงอยู่ร่วมกันอย่างมีขันติธรรม สามารถยอมรับ และอดทนต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรม ศาสนา ภาษา อุดมการณ์และความเชื่ออย่างมีสติ

๒. ศาสนาช่วยโลก หรือว่าโลกช่วยศาสนา???

อย่างไรก็ดี ในขณะที่ศาสนากับเผชิญหน้ากับ “กระแสของความขัดแย้งและความรุนแรง” ที่กำลังแพร่หลายอยู่ในสังคมโลก มนุษยชาติได้ร่วมกันตั้งคำถามอันแหลมคมต่อการทำหน้าที่ของศาสนาเช่นเดียวกันว่า
(๑) ศาสนาจะเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมนำเสนอทางรอด และร่วมแก้ปัญหาให้มวลมนุษยชาติได้อย่างไร? จึง จะทำให้มนุษยชาติไม่ตกอยู่ในห้วงเหว และหลุมพรางของความขัดแย้งและความรุนแรง จนนำไปสู่ความสามารถที่จะรู้เท่าทันโดยไม่ตกอยู่ในหลุมพรางของสิ่งเหล่านั้น
(๒) ศาสนาอาจจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาหรือไม่? อัน เนื่องจากการที่ศาสนาในแง่ศาสนาบุคคลในรูปขององค์กรศาสนาเองไม่ได้ตระหนัก รู้ หรือรู้เท่าทันต่อกระแสของโลกาภิวัตน์ จึงไม่สามารถปรับตัวให้สอดรับกับกระแสของการเปลี่ยนของสังคม และทำอย่างไร ศาสนาจึงจะไม่กลายเป็นภาระ หรือส่วนเกินของสังคมในโอกาสต่อไป
(๓) ศาสนาพ่ายแพ้ต่อสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงที่กำลังขยายทั่วอยู่ทั่วทุกมุมโลกจริงหรือไม่? ตัวแปรสำคัญที่ทำให้ค้นพบร่องรอยของความพ่ายแพ้ คือ การเงียบเฉย (Voiceless) ต่อ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หรือสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรง โดยไม่เข้าไปร่วมนำเสนอทางออกที่เหมาะสม หรือวิพากษ์พฤติกรรม หรืออุดมการณ์ที่ผิดรูปไปจากหลักการทางศาสนา

๓. พลังของศาสนาช่วยสร้างโลก หรือทำลายโลก???

ประเด็นที่เราต้องให้ความสนใจ และใส่ใจคือ “หาก มนุษย์โลกไร้ซึ่งความรัก ความหวัง และแรงบันดาลใจ ในขณะที่ดวงจิตเต็มไปด้วยความเกลียดชัง ความหวาดกลัวต่อการภัยที่กำลังคุกคามทั้งภายในและภายนอก” หน้าที่หลักของศาสนาต่างๆ ในโลกนี้ ที่จะต้องช่วยกันเติมเต็มอย่างเร่งด่วนคือ (๑) การทำให้ผู้นับถือมีความสุข มั่นคงและปลอดภัยในการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน (๒) การปลุกเร้าให้มนุษยชาติอยู่ร่วมกับคนอื่น สัตว์อื่น และสิ่งอื่นอย่างสงบ สันติสุข และมีขันติธรรมต่อความแตกต่างทางอุดมการณ์และความเชื่ออย่างมีสติ (๓) การไม่กระทำการสิ่งใด หรือสร้างเงื่อนไขใดๆ ในอันที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างเพื่อนร่วมศาสนา ซึ่งจะก่อให้ความเกิดความหวาดระแวง และหวาดกลัวต่อมวลมนุษยชาติที่เป็นเพื่อนร่วมทุกข์เกิด แก่ เจ็บ และตาย (๔) การทำให้ผู้นับถือมีขันติธรรมทางศาสนา โดยไม่ตกอยู่ในหลุมพรางของความขัดแย้งและความรุนแรงในขณะที่มีบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลพยายามที่จะสร้างเงื่อนไขยั่วยุ หรือกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง
เมื่อกล่าวโดยหลักการแล้ว พลังของศาสนา “ควรและต้อง” เข้า มากระชับการทำหน้าที่ดังเช่นที่เคยเป็นปรัชญาและปณิธานสำคัญของการก่อตั้ง ศาสนาขึ้นมาเป็นที่พึ่งพาของชาวโลก โดยทำหน้าที่หลักใน ๒ ประการ คือ
(๑) หาก “สัตว์การเมือง” (Political Animals) ทำให้หมู่มนุษย์ในฐานะเป็น “สัตว์สังคม” (Social Animals) เกิด ความหวาดกลัว และหวาดระแวงซึ่งกันและกัน ศาสนาควรเข้ามาทำหน้าที่ในการสร้างความมั่นใจ และเชื่อมั่นในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของกันและกัน และ ประเด็นสำคัญก็คือ การสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการนำหลักการสำคัญของแต่ละศาสนามาปฏิบัติเพื่อ ให้เกิดความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินทั้งในเชิงปัจเจก และสังคม
(๒) ประจักษ์ชัดว่า “การเกิดขึ้นของศาสนามีเป้าหมายสำคัญสูงสุดคือการอยู่รวมกันอย่างร่มเย็น และเป็นสันติสุขของมวลมนุษยชาติ” เราควรดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อเปิดพื้นที่ให้แก่ศาสนาได้กลับมาทำหน้าที่อย่าง “หนักแน่น และเต็มศักยภาพ” และ สร้างสังคมให้เกิดการตื่นรู้มากยิ่งขึ้นทั้งในมิติของแนวคิด และแนวปฏิบัติที่สอดรับกับวิถีความเปลี่ยนของสังคมโลกที่กำลังเดินหน้าไปสู่ ความขัดแย้งและความรุนแรงอันเนื่องจากการตัวแปรต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่แปลกแยกและแตกต่าง

๔. คุณค่าของศาสนา: จากโกรธ และความเกลียดชังสู่การแบ่งปันอย่างไร้ขีดจำกัด

(๑) แบ่งปันความรัก คำถามที่สำคัญคือ “เพราะเหตุใด? มนุษย์จึงต้องรักผู้อื่น สัตว์อื่น และสิ่งอื่น” เหตุผลเนื่องมาจาก “การที่มนุษย์ไม่สามารถอยู่คนเดียวในโลกใบนี้ได้” มนุษย์ สัตว์ทุกชนิด และธรรมชาติสิ่งแวดล้อมมีความจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยและกัน ช่วยเหลือกัน เพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์ และเป็นเครื่องมือสำคัญในการหล่อเลี้ยงวิถีชีวิต ดำเนินชีวิตเพื่อให้สิ่งเหล่านี้รอดเพื่อพัฒนา “คุณค่าอื่นๆ” ต่อไป ด้วยเหตุผลเช่นนี้ การอยู่รอดของคนอื่น สัตว์อื่น หรือสิ่งอื่นๆ จึงส่งผลในเชิงบวกต่อการอยู่รอดของเราเช่นเดียวกัน ฉะนั้น การเปิดพื้นที่ให้แก่คนอื่น หรือสิ่งอื่นๆ โดยการแบ่งปันความรัก ความปรารถนาดีต่อกัน การเคารพ ให้เกียรติต่อบุคคลที่มีความเชื่อ วัฒนธรรม และอุดมการณ์ที่แตกต่าง จึงเป็น “ความจำเป็น” ที่ “มนุษย์” จะต้องมีและแสดงออกต่อกันและกัน

(๒) แบ่งปันผลประโยชน์และความต้องการ การดำรงอยู่ของมนุษยชาติที่ต้องสัมพันธ์กับวิถีโลกมีความสัมพันธ์กับปัจจัย ๔ และโลกธรรมอย่างแยกไม่ออก เนื่อง จากมนุษย์มีความจำเป็นในการของการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด ด้วยเหตุนี้ ในขณะที่ทรัพยากรมีจำกัด แต่ความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัดนั้น การแบ่งปันทรัพยากรเพื่อให้ฝ่ายต่างๆ เกิดความพึงพอใจสูงสุดจึงมีความจำเป็นที่ใส่ใจ โดยใช้กฎกติกามาเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ นอกจากนั้น การแบ่งปัน “ประโยชน์และความต้องการ” ให้สอดรับกับความต้องการของคน หรือกลุ่มคนย่อมมีความสำคัญเช่นเดียวกัน คำถามคือ “เราจะแบ่งปันความต้องการด้านทรัพยากรให้สอดรับกับความต้องการของกลุ่มคนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในสังคมโลกได้อย่างไร” จึง จะทำให้กลุ่มต่างๆ ที่มีความหลากหลายในสังคมเกิดความพึงพอใจสูงสุดตามข้อเสนอและข้อเรียกร้อง ประเด็นนี้ รัฐ ผู้นำหรือกลุ่มคนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะวางกรอบหรือกติกาอย่างไร จึงจะใช้เป็นเกณฑ์เพื่อรองรับการตัดสินใจดังกล่าว โดยไม่ทำให้แต่ละฝ่ายเกิดความรู้สึก และสงสัยในความเสมอภาค เป็นธรรมและเที่ยงธรรม
(๓) แบ่งปันความสุข ความสุขในบริบทนี้ ครอบคลุมถึงความสุขทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว สังคม ประเทศ