หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาสตินวัตกรรมและสันติศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัยและหลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็น ในการผลิตวิศวกรสันติภาพ ซึ่งเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและศักยภาพในงานด้านสันติ มีองค์ความรู้และประสบการณ์ในลักษณะที่เป็นผู้รู้จริงและปฏิบัติได้ กระตุ้นให้เกิดการใช้ความรู้ทางด้านสันติภาพในการสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ ที่ผ่านมาโครงการหลักสูตรสันติศึกษาประสบความสำเร็จในการผลิตวิศวกรสันติภาพในระดับปริญญาโทและมีผู้ให้ความสนใจมาศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลักสูตรสันติศึกษา ภายใต้การดูแลควบคุมของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนายกระดับการผลิตวิศวกรด้านสันติภาพที่มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญการ สามารถสร้างสรรค์งานสันติภาพทั้งในด้านวิชาการและผลักดันโครงการสันติภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นการศึกษาโครงการวิจัยที่ลงพื้นที่ปฏิบัติได้จริง
ดังนั้น สาขาวิชาสันติศึกษา จึงมีความประสงค์จะเปิดการสอนในหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา เพื่อเป็นการเปิดกว้างให้มีการเรียนรู้องค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนา และการบูรณาการความรู้ทางพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ และการนำความรู้ทางพระพุทธศาสนาไปรับใช้สังคม ตระหนักในคุณธรรมจริยธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีความเชี่ยวชาญทางด้านการสร้างสันติภาพที่ผสมผสานแนวคิดทางด้านพุทธศาสนา โดยมุ่งเน้นให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ด้านดังกล่าวในเชิงลึก และผสมผสานพุทธธรรมให้นำไปสู่วิธีการดำเนินการที่เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนากำลังคนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการความขัดแย้งและสร้างสันติภาพของประเทศชาติสืบต่อไป
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต
เพื่อผลิตพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต
เพื่อผลิตพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต
เพื่อผลิตพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต
ให้เป็นวิศวกรสันติภาพที่สามารถฝึกพัฒนาตนเองให้มีสติตื่นรู้ รู้เท่าทันอารมณ์ และจิตใจ มีขันติที่สามารถอดทนต่อการเรียนรู้ ยอมเปิดใจรับฟังผู้อื่นด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ให้เป็นวิศวกรสันติภาพที่มีความรอบรู้ และเข้าใจศาสตร์สันติศึกษาอย่างลึกซึ้ง ทั้งแนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติการเกี่ยวกับความขัดแย้ง สงครามความรุนแรง สันติวิธี และสันติภาพ สามารถบูรณาการศาสตร์ต่างๆ
ให้เป็นวิศวกรสันติภาพนักปฏิบัติการ ที่มีทักษะในการเป็นผู้นำกระบวนการสร้างสันติภาพ และมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบเครื่องมือเพื่อสร้างแรงบันดาลใจใฝ่สันติ มีเทคนิคการสื่อสารเพื่อสันติ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
สาขาวิชาสตินวัตกรรมและสันติศึกษา
-
นิสิตแบบ ๑.๑ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททุกสาขาวิชา หรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง หรือต้องมีคุณสมบัติอื่นตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
-
นิสิตแบบ ๑.๒ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือต้องมีคุณสมบัติอื่นตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด รวมทั้งมีประสบการณ์ในการทำงานสอดคล้องในสาขาวิชา
-
นิสิตแบบ ๒.๑ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ได้รับค่าระดับเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโท ไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ จากระบบ ๔ แต้ม
-
มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
-
เป็นผู้มีร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคในการศึกษา
-
ไม่เคยถูกคัดชื่อออกหรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใดๆ เพราะความประพฤติหรือผิดวินัย
-
หรือเป็นผู้ที่คณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษาเป็นรายกรณี
พันธกิจของสถาบัน
มุ่งเน้นการเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม พร้อมๆ ไปกับการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยเฉพาะในศาสตร์ที่เป็นพุทธศาสตร์เชิงประยุกต์ จากแนวคิดดังกล่าวจึงจำเป็นจะต้องมีหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรที่ เข้าถึงแก่นแท้ในด้านสันติภาพ เพื่อทำหน้าที่ผลิตงานวิจัย เชิงบูรณาการที่ถอดองค์ความรู้ทางพุทธศาสนา ผสมผสานกับศาสตร์ทางด้านการสร้างสันติภาพ ที่ประกอบด้วยรู้ความสามารถและคุณสมบัติที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะภาวะผู้นำ การใช้การเจรจา การสื่อสาร การไกล่เกลี่ย การทำงานเป็นหมู่คณะ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้างความปรองดองในสังคม มีวิสัยทัศน์ในการเฝ้าระวัง ความเสี่ยง การออกแบบและการสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและต่อสังคมในการสร้างสันติสุขร่วมกัน รวมไปถึงจริยธรรมผู้นำต้นแบบด้านสันติภาพ ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้น หลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรม และสถาบันพระปกเกล้าจึงเล็งเห็นความสำคัญอย่างยิ่งในการเปิดสอนในหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา
คำอธิบายรายวิชา
หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสตินวัตกรรมและสันติศึกษา
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๓) กำลังปรับปรุงหลักสูตร เป็นปี ๒๕๖๗
๑. หมวดวิชาบังคับ
นับหน่วยกิต ๒ รายวิชา จำนวน ๖ หน่วยกิต
๘๑๑ ๑๐๑ แนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับสันติศึกษา* ๓ (๓-๐-๖)
๘๑๑ ๒๐๒ ภาวะผู้นำกับทักษะการสร้างสันติภาพ* ๓ (๑-๖-๒
๑.๒) หมวดวิชาบังคับ
๘๑๑ ๑๐๔ ระเบียบวิธีวิจัยชั้นสูงว่าเพื่อสันติภาพ* ๓ (๓-๒-๔)
๘๑๑ ๒๐๘ กระบวนการเสริมสร้างสังคมสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี ๓ (๑-๘-๐)
๘๑๑ ๓๐๙ ปฏิบัติการเสริมสร้างสังคมสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี ๓ (๐-๙-๐)
๒. หมวดวิชาเอก
นับหน่วยกิต ๒ รายวิชา จำนวน ๖ หน่วยกิต
๘๑๑ ๑๐๓ พุทธสันติวิธี* ๓ (๓-๐-๖)
๘๑๑ ๔๑๖ สติสำหรับวิศวกรสันติภาพ* ๓ (๑-๗-๑)
๓. หมวดวิชาเลือก
นิสิตต้องเลือกศึกษาจากรายวิชา ๒ รายวิชา จำนวน ๖ หน่วยกิต
๘๑๑ ๒๐๗ พระพุทธศาสนากับการเสริมสร้างสังคมสันติสุข ๓ (๓-๐-๖)
๘๑๑ ๓๐๕ พุทธธรรมเพื่อสันติภาพ ๓ (๓-๐-๖)
๘๑๑ ๔๑๐ สันติภาวนาเสวนา ๓ (๑-๗-๑)
๘๑๑ ๔๑๑ สัมมนาสันติภาพกับความยุติธรรมทางสังคม ๓ (๓-๐-๖)
๘๑๑ ๔๑๒ กระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อเสริมสร้างสังคมสันติสุข ๓ (๑-๗-๑)
๘๑๑ ๔๑๓ สัมมนาสันติภาพกับสิทธิมนุษยชน ๓ (๓-๐-๖)
๘๑๑ ๔๑๔ สันติวัฒนธรรม ๓ (๓-๐-๖)
๘๑๑ ๔๑๗ พระพุทธศาสนากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ๓ (๓-๐-๖)
๔. วิทยานิพนธ์
๘๐๐ ๑๐๐ ดุษฎีนิพนธ์ แบบ ๑.๑ ๔๘ (๐-๑๔๔-๐)
๘๐๐ ๑๐๐ ดุษฎีนิพนธ์ แบบ ๑.๒ ๗๒ (๐-๒๑๖-๐) ๘๐๐ ๒๐๐ ดุษฎีนิพนธ์ แบบ ๒.๑ ๓๖ (๐-๑๐๘-๐)
เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ต. ลำไทร อ. วังน้อย จ. พระนครศรีอยุธยา 13170
โทรศัพท์ : 085-088-9150, 093-965-6519 โทรสาร : 035-248-000 ต่อ 8528
Email : peace@mcu.ac.th
หลักสูตรสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บริการออนไลน์
หอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทความวิชาการ
วิดีโอ
ดาวน์โหลด
ลิ้งค์สถาบัน
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สถาบันพระปกเกล้า
สำนักงานศาลยุติธรรม
วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ
กระทรวง อว.
บัณฑิตวิทยาลัย มจร.
ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร
แฟนเพจสันติศึกษา