วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต
เพื่อผลิตพุทธศาสตรมหาบัณฑิต
เพื่อผลิตพุทธศาสตรมหาบัณฑิต
เพื่อผลิตพุทธศาสตรมหาบัณฑิต
ให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในศาสตร์สันติศึกษาทั้งด้านทฤษฎีและสามารถสร้างสันติภาวะให้กับตนเอง ชุมชน สังคม
ให้มีความสามารถนำองค์ความรู้ด้านสันติภาพไปประยุกต์ใช้ในชีวิตเพื่อป้องกัน แก้ไขความขัดแย้ง และสร้างสันติสุขในระดับบุคคล ชุมชน สังคม
ให้มีความคิดสร้างสรรค์และจิตอาสาในการพัฒนากระบวนการสร้างสันติภาพผ่านวิถีชีวิต ผ่านความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม ความเป็นชาติพันธุ์ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในสังคมไทย
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
สาขาวิชาสันติศึกษา
-
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขา หรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัยหรือจากสถาบันการศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศ ที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) และต้องมีคุณสมบัติอื่นตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
-
เป็นผู้มีประสบการณ์ ในการทำงานด้านการจัดการความขัดแย้ง หรือเสริมสร้างสังคมสันติสุข มีทักษะ บทบาทหน้าที่ ความเชี่ยวชาญ ที่สอดคล้องกับการมีจิตอาสาพัฒนาหรือช่วยเหลือด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อม มีผลงานทางวิชาการ การอบรมหรือวุฒิการศึกษาที่สอดคล้องสัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตร
-
เป็นผู้มีร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคในการศึกษา
-
ไม่เคยถูกลงโทษให้พ้นสภาพการเป็นนิสิตจากสถาบันการศึกษาใดๆ เพราะความประพฤติจริยธรรมหรือผิดวินัย
-
หรือเป็นผู้ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาคุณสมบัติแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษาเป็นรายกรณี
พันธกิจของสถาบัน
มุ่งเน้นการเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม พร้อมๆ ไปกับการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยเฉพาะในศาสตร์ที่เป็นพุทธศาสตร์เชิงประยุกต์ จากแนวคิดดังกล่าวจึงจำเป็นจะต้องมีหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรที่เข้าถึงแก่นแท้ในด้านสันติภาพ เพื่อทำหน้าที่ผลิตงานวิจัยเชิงบูรณาการที่ถอดองค์ความรู้ทางพุทธศาสนา ผสมผสานกับศาสตร์ทางด้านการสร้างสันติภาพที่ประกอบด้วยรู้ความสามารถและ คุณสมบัติที่สำคัญ อันได้แก่ ทักษะภาวะผู้นำ การใช้การเจรจา การสื่อสาร การไกล่เกลี่ย การทำงานเป็นหมู่คณะ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้างความปรองดองในสังคม มีวิสัยทัศน์ในการเฝ้าระวัง ความเสี่ยง การออกแบบและการสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและต่อสังคมในการสร้างสันติสุขร่วมกัน รวมไปถึงจริยธรรมผู้นำต้นแบบด้านสันติภาพ ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้น โครงการสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม และสถาบันพระปกเกล้าจึงเล็งเห็นความสำคัญอย่างยิ่งในการเปิดสอนในหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา
คำอธิบายรายวิชา
หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๕)
๑. หมวดวิชาบังคับ
วิชาบังคับ นับหน่วยกิต ๓ รายวิชา จำนวน ๙ หน่วยกิต
๖๑๘ ๑๐๑ แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสันติศึกษา ๓ (๒-๕-๒)
๖๑๘ ๓๑๔ สิทธิมนุษยชนและกระบวนการยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ๓ (๒-๕-๒)
๖๑๘ ๑๐๔ ระเบียบวิธีวิจัยเพื่อสันติศึกษา ๓ (๒-๕-๒)
วิชาบังคับ
ไม่นับหน่วยกิต ๑ รายวิชา จำนวน ๓ หน่วยกิต
๖๑๘ ๒๐๕ กรรมฐาน ๓ (๒-๕-๒)
๒. หมวดวิชาเอก
นับหน่วยกิต ๔ รายวิชา จำนวน ๑๒ หน่วยกิต
๖๑๘ ๒๐๗ พุทธสันติวิธีเพื่อเสริมสร้างสังคมสันติสุข ๓ (๒-๕-๒)
๖๑๘ ๒๑๐ ทักษะการสานเสวนาและการสื่อสารเพื่อสันติภาพ ๓ (๒-๕-๒)
๖๑๘ ๑๐๗ ทักษะการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ๓ (๒-๕-๒)
๖๑๘ ๒๐๘ โคกหนองนาเพื่อการพัฒนาสันติภาพอย่างยั่งยืน ๓ (๒-๕-๒)
๓. หมวดวิชาเลือก
นิสิตต้องเลือกศึกษาจากรายวิชา ๒ รายวิชา จำนวน ๖ หน่วยกิต
๖๑๘ ๑๐๖ สติเพื่อความฉลาดทางอารมณ์ ๓ (๒-๕-๒)
๖๑๘ ๑๐๒ สงครามและสันติภาพในโลกยุคใหม่ ๓ (๒-๕-๒)
๖๑๘ ๒๐๙ ความยุติธรรมทางสังคม ๓ (๒-๕-๒)
๖๑๘ ๑๐๕ สันติวัฒนธรรม ๓ (๒-๕-๒)
๖๑๘ ๒๑๑ สัมมนาขันติธรรมทางศาสนา ๓ (๒-๕-๒)
๖๑๘ ๒๑๒ สันตินวัตกรรมภูมิปัญญาไทย ๓ (๒-๕-๒)
๖๑๘ ๒๑๓ ธรรมาภิบาลเพื่อเสริมสร้างชุมชนและสังคมสุจริต ๓ (๒-๕-๒)
๔. วิทยานิพนธ์
๖๑๘ ๔๐๐ วิทยานิพนธ์ จำนวน ๑๒ หน่วยกิต
๕. สารนิพนธ์
๖๑๘ ๓๐๐ สารนิพนธ์ จำนวน ๖ หน่วยกิต
เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ต. ลำไทร อ. วังน้อย จ. พระนครศรีอยุธยา 13170
โทรศัพท์ : 085-088-9150, 093-965-6519 โทรสาร : 035-248-000 ต่อ 8528
Email : peace@mcu.ac.th
หลักสูตรสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บริการออนไลน์
หอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทความวิชาการ
วิดีโอ
ดาวน์โหลด
ลิ้งค์สถาบัน
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สถาบันพระปกเกล้า
สำนักงานศาลยุติธรรม
วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ
กระทรวง อว.
บัณฑิตวิทยาลัย มจร.
ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร
แฟนเพจสันติศึกษา