top of page

บทบาทภาคประชาสังคมกับการขับเคลื่อนสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้


#ผู้ว่าสตรีปัตตานี

#ย้ำความหลากหลายสวยงาม

#สร้างระบบนิเวศในการพูดคุย

#ใช้ความรุนแรงขัดต่อคำสอนศาสนา

#ผู้ใหญ่สตรีบทบาทภาคประชาสังคมพหุวัฒนธรรม

#สร้างความรู้สึกร่วมในพื้นที่ความเป็นพหุวัฒนธรรม

#จงอย่ามองสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในภาพเก่า

#บทบาทภาคประชาสังคมกับการขับเคลื่อนสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้

๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ศึกษาดูงานครั้งที่ ๔ ภายใต้ “หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ ๑๓” (๔ ส. ๑๓) จัดโดย สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า โดยมีเวทีแลกเปลี่ยน “บทบาทภาคประชาสังคมกับการขับเคลื่อนสันติภาพ จชต.” ณ ห้องน้ำพร้าว โรงแรมซีเอส ปัตตานี โดย ผู้แทนคณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.๓) และสภาประชาสังคม จชต. ประกอบด้วย พระสิริจริยาลังการ เจ้าอาวาสวัดตานีนรสโมสร จังหวัดปัตตานี ผู้แทนชาวพุทธ อาจารย์อับดุลการีม อัสมะแอ อาจารย์มหาวิทยาลัยฟาตอนี จังหวัดปัตตานี นายมูฮำหมัดอายุบ ปาทาน ที่ปรึกษามูลนิธิเพื่อการศึกษาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จังหวัดยะลา นางสมใจ ชูชาติ ผู้ใหญ่บ้านตำบลบ้านนอก อำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี ผู้แทนชาวพุทธ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร. อลิสา หะสาเมาะ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี

โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวต้อนรับ กล่าวประเด็นสำคัญว่า ขอต้อนรับเข้าสู่จังหวัดปัตตานี ที่นี่มีวัฒนธรรมที่งดงามมีวัฒนธรรมอาหารที่หลากหลาย ที่นี่มีความหลากหลายนำไปสู่ความสวยงามซึ่งสามจังหวัดเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ทำให้เกิดการกระตุ้นในพื้นที่ในการสร้างสันติภาพ จึงขอบคุณสถาบันพระปกเกล้าในการเสริมสร้างสังคมสันติสุข

ผู้ร่วมเวทีแลกเปลี่ยน กล่าวประเด็นสำคัญว่า ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการคุยแบบเป็นทางการ โดยความขัดแย้งในชายแดนภาคใต้มีความยืดยื้อยาวนาน เรามักจะเรียกคนเห็นต่างจากรัฐว่า ผู้ก่อการร้าย แต่ผู้ต่อสู้จะเรียกตนเองว่ากระบวนการ มีความรุนแรงสูงขึ้นซึ่งภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้เสียงไม่อยากได้ยิน จะต้องสร้างพื้นที่ในการพูดคุยโดยให้ความรู้กับประชาชนซึ่งสันติวิธีมีความยากสำหรับสถานที่ระเบิดจริงๆ มีอาวุธจริงๆ ล่าสุดบนโต๊ะพูดคุยคือ "ลดเหตุรุนแรง กระบวนการปรึกษาหารือ และแสวงหาทางออกทางการเมืองด้วยรูปแบบการปกครอง" การพูดคุยไม่ได้มีกลุ่มเดียวเพราะผิดระบบนิเวศ โดยไม่ใช้ความรุนแรง ไม่แตกแยกทางศาสนาและวัฒนธรรม ไม่สร้างความเกลียดชัง อย่ามองสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในภาพเก่า

โดยมิติชาวพุทธสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในความหลากหลายทางวัฒนธรรม คำถามว่าเสี่ยงไหม ? เสี่ยง แต่พยายามทำงานร่วมกันในภาคประชาสังคมในการเสริมสร้างสังคมสันติสุข โดยผู้คนในชุมชนมีเสียงสะท้อนเรื่องการกรีดยาง มีความกลัวแต่ต้องทำอาชีพของคนในชุมชน จึงต้องช่วยเหลือคนในชุมชน ถ้าทิ้งความหวาดระแวงได้จะดีมาก สามารถมีจุดเช็คอินได้ในพื้นที่ ซึ่งการสื่อสารในไลน์ เฟช สร้างความหวาดกลัว จึงขอเชิญชวนและนิมนต์พระสงฆ์ลงมาเรียนรู้ในพื้นที่

จึงขอขอบคุณสถาบันพระปกเกล้าที่พยายามมุ่งขับเคลื่อนสันติภาพ เพราะสามจังหวัดชายแดนเป็นเรื่องของการเมือง จึงต้องขับเคลื่อนด้วยการเมือง ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ซึ่งเกิดขึ้นมานานแต่รุนแรงในปี ๒๕๔๗ โดยกลุ่ม BRN โดยกลุ่มนี้มีมานานถึง ๖๐ ปีมีการต่อสู้แบบยาวนาน เป็นการต่อสู้ที่ใช้ความรุนแรงมีความจบยาก ภาคใต้จะต้องแก้ด้วยการพัฒนาคน ซึ่งอดีตมาการกดทับจริงสะสมมายาวนาน ทำให้ลุกขึ้นมาสู้ด้วยการใช้ความรุนแรง ซึ่งขัดกับหลักคำสอนทางศาสนาอิสลามที่มุ่งสันติสุข การต่อสู้ทำให้เสียโอกาสในการพัฒนาทำให้ปัตตานีขาดโอกาสในการพัฒนา ในมิติภาคประชาสังคมทำให้เราร่วมมือระหว่างศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม ภาคประชาสังคมอาจจะไม่เข้มแข็งมากจึงต้องพัฒนาศักยภาพ เพราะถ้าภาคประชาสังคมเข้มแข็งจะมีอำนาจต่อรองในมิติต่างๆ

ได้รับเกียรติจากชาวบ้านให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งในพื้นที่มีการแข่งขันที่ดุเดือด จึงอาสามาทำงานให้ชาวบ้าน แต่พื้นที่เป็นพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายในพื้นที่ ในภาคเหนือมีความเป็นพหุในชนเผ่าต่างๆ สามารถอยู่ได้ แต่ในสามจังหวัดภาคใต้มีความเป็นพหุวัฒนธรรม ซึ่งอยู่ในพื้นที่คนพุทธถูกกระทำแต่มาเรียน ๔ ส.ใต้ ทำให้เรามองความเป็นพหุวัฒนธรรม จึงสร้างความรู้สึกร่วม ทำให้เราเห็นอกเห็นใจกัน โดยเราอยู่พื้นที่ความขัดแย้งจึงต้องเปิดใจอย่างจริงจัง ในภาพอนาคตเราอยากได้การขับเคลื่อนสันติภาพอย่างจริงจัง


สาราณียธรรม

พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร.

ผู้อำนวยการหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มจร

เลขาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร Buddhist Peace Facilitator

นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่นที่ ๑๓

ณ ห้องน้ำพร้าว โรงแรมซีเอส ปัตตานี

๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖



96 views0 comments
bottom of page