#ปัจฉิมสุข
#วิศวกรสันติภาพ
#สุดท้ายCharacterเป็นตัวชี้วัด
#สันติศึกษาจัดทำบุญปริญญาและปัจฉิมนิเทศ
๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ หลักสูตรสันติศึกษา มจร ได้รับความเมตตายิ่งจากหลวงพ่อพระพรหมวัชรธีราจารย์, ศ.ดร. อธิการบดี มจร เป็นประธานทำบุญปริญญาในใส่ใจสันติสุข พร้อมพระมหาเถระผู้บริหาร มจร และ มมร
ในนามคณาจารย์และบุคลากรทุกท่าน ขอแสดงความยินดีกับวิศวกรสันติภาพ "มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต" สาขาวิชาสันติศึกษาทุกรูปท่าน ซึ่งตัวชี้วัดผู้จบการศึกษาสาขาสันติศึกษาได้ดีที่สุดคือCharacter โดย Character ในการพัฒนาผู้เรียนสามารถสอดรับกับผลลัพธ์ของการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานของกระทรวง อว. ประกอบด้วย ๑)ผลลัพธ์ด้านความรู้ (Knowledge) ๒)ผลลัพธ์ด้านทักษะ (Skills) ๓)ผลลัพธ์ด้านจริยธรรม (Ethics) ๔)ผลลัพธ์ด้านลักษณะบุคคล (Character) จึงมีการประเมินผล Character ผ่านภาวนา ๔ ในทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย
๑)Character
ด้านกายภาพของวิศวกรสันติภาพ
วิศวกรสันติภาพมีท่าทีทักษะที่แสดงถึงอ่อนน้อมถ่อมตน ให้เกียรติเคารพบุคคล สถานที่ รับฟังผู้อื่น มีบุคลิกภาพภายนอกเข้าใจถึงกาลเทศะบริบททางสังคม มีบุคลิกภาพภายในที่มีความนุ่มนวล มีความสามารถในการปรับตัว ทักษะการเข้าสังคม เคารพในกติกา และดูแลร่างกายให้สุขภาพดีพร้อมให้ความสำคัญการเรียนสิ่งใหม่อัพเดทตนตลอดเป็น Lifelong Learning
๒)Character
ด้านพฤติภาพของวิศวกรสันติภาพ วิศวกรสันติภาพมีทักษะในการอยู่ร่วมกับบุคคลที่มีความแตกต่างหลากหลาย เคารพในความหลากหลาย ไม่บลูลี่หรือแสดงอาการเหยียด มีจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่น มีทักษะในการคลี่คลายความขัดแย้งด้วยสันติวิธี มีการสื่อสารอย่างสันติ และมีการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นโดยเฉพะกับบุคคลที่ด้อยกว่าอย่างสุภาพ มีศีล ๕ เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตโดยมุ่งเคารพในมิติของสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน สามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็น
๓)Character
ด้านจิตภาพของวิศวกรสันติภาพ
วิศวกรสันติภาพมีทักษะในการเข้าใจอารมณ์ของตนเองและเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น สามารถจัดการบริหารอารมณ์ภายในเมื่อเจอความไม่พอใจเป็นตัวรู้คือมีสติ ขันติ สันติ สามารถข่มใจมีความอดทนไม่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม มีสันติภายในในเรือนใจมีความสงบเย็นสามารถ “นิ่งได้ รอได้ เย็นได้ ทนได้ ช้าได้” เมื่อเจอสถานการณ์ที่เปราะบาง มองถึงการมีจริยธรรมเป็นฐานในการดำเนินชีวิต
๔)Character
ด้านปัญญาของวิศวกรสันติภาพ
วิศวกรสันติภาพมีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้สติปัญญาเป็นฐาน สามารถเลือกระหว่างสิ่งดีกับสิ่งที่ไม่ดี มีความฉลาดรู้รอบด้านสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยสันติวิธีปฏิเสธการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ มีทักษะในอนาคต มีทักษะในการแก้ปัญหา มีสันติวัฒนธรรม (Culture of Peace)” ประกอบด้วย ๑)เคารพทุกคนเท่าเทียมกัน (Respect) ๒)เอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy) ๓)การรู้จักให้อภัย (Forgiveness) ๔)ไม่ใช้ความรุนแรง (Non-violence) ๕)เสียสละเพื่อส่วนรวม มีจิตอาสา (Social awareness) โดยมองว่าปัญญาเป็นแสงสว่างในโลกจากมืดมาสว่างไป
ยุคปัจจุบันไม่ควรพัฒนาเรื่องคอนเทนต์แล้วในยุคนี้ เพราะผู้เรียนในอนาคตถามทุกอย่างกับเอไอซึ่งเอไอรู้ทุกอย่างได้คำตอบที่ชัดเจน โดยเอไอทราบข้อคำถามทั้งหมด ปัจจุบันโลกคอนเทนต์ที่สอนในมหาวิทยาลัยมีแต่คอนเทนต์เก่าไม่ทันยุคล่าสมัยแล้ว แม้จะมุ่งพยายามทำวิจัยแต่ไม่ทันโลกที่เป็นเอไอ โดยโอกาสที่จะหายจากโลกใบนี้มีมากยิ่งขึ้น สิ่งที่ครูอาจารย์สอนในห้องเรียนไม่สามารถนำมาใช้ได้ในปัจจุบัน แต่สิ่งที่ต้องพัฒนาผู้เรียนในยุคใหม่คือ “คาแรคเตอร์มากกว่า” ซึ่งเอไอไม่ได้มีคาแรคเตอร์
สิ่งที่ครูอาจารย์ต้องพัฒนาผู้เรียนคือ “Character” มากกว่า ซึ่ง AI ไม่มี Character เช่น มี Character ในความสามารถที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทำอย่างไรไม่ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้วจะต้องเป็นน้ำครึ่งแก้วเรียนรู้ตลอดเวลา จะต้องมี AQ มี Skill Series เรียกว่า AQ ซึ่งไม่ได้สอนแค่ IQ กับ EQ แต่สอนความสามารถที่ปรับตัวจะต้องสอนเด็กมากกว่าให้ถามคำถามที่ถูกต้องมากกว่า ซึ่งถามคำถามที่ถูกต้องเอไอสามารถตอบได้ทั้งหมด เราจะต้องพร้อม Engineer AI ให้เป็นแล้วสามารถ Develop ด้านของ Character ประเด็นเรื่องของความอดทน การเสียสละ จิตอาสา การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต Lifelong Learning ซึ่งมีความสำคัญกว่า Actual Content ที่เรียนในห้องเรียน
สรุปว่า ครูอาจารย์ในยุคเอไอไม่ควรพัฒนาเรื่องของ Content เพราะเอไอสามารถรู้คำตอบได้ทั้งหมดแล้ว ซึ่งตำราและเนื้อหาในห้องเรียนยุคนี้ไม่ทันการในยุคหน้าเพราะโลกเปลี่ยนไวมาก สิ่งที่ควรสอนเด็กและนิสิตยุคใหม่คือการเป็นคนน้ำไม่เต็มแก้ว ต้องพัฒนามากที่สุดคือ Character ของผู้เรียนเพราะเอไอไม่ได้มีคาแรคเตอร์ โดยเฉพาะ Character จากภายในจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการจะพัฒนาจะต้องมองถึงนิโรธคือเป้าหมายที่เราอยากจะได้เป็น Character ประกอบด้วย
๑) Character
ของผู้บริหารหลักสูตรควรมี Character เป็นอย่างไร ในมิติ ๔ ภาพ
๒)Character
ของอาจารย์หลักสูตรควรมี Character เป็นอย่างไรในมิติ ๔ ภาพ
๓)Character
ของบุคลากรเจ้าหน้าที่หลักสูตร ควรมี Character เป็นอย่างไรในมิติ ๔ ภาพ
๔)Character
ของนิสิตที่กำลังศึกษาควรมี Character เป็นอย่างไรในมิติ ๔ ภาพ
๕)Character
ของผู้จบการศึกษาเป็นวิศวกรสันติภาพควรมี Character เป็นอย่างไรในมิติ ๔ ภาพ
โดยจะต้องสามารถพัฒนาไปถึงคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็ง (character strengths) ได้ เมื่อต้องการผลลัพธ์ที่เป็น Character ที่ต้องการแล้ว คำถามเราจะออกแบบหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ เครื่องมือการเรียนรู้ เพื่อไปถึงเป้าหมายได้อย่างไร ?
สาราณียธรรม
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร.
โค้ชสันติ
กระบวนกรธรรมะโอดี
วิทยากรต้นแบบสันติภาพ
Dhamma OD Happy Life
Buddhist Peace Facilitator
ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา
ระดับปริญญาโท มจร
๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
Comments