top of page

ประชุมปรึกษาหารือ "ไทยและอินเตอร์" การบริหารหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาวิชาสตินวัตกรรมและสันติศึกษา

#ไทยและอินเตอร์

#ประชุมปรึกษาหารือ

#ทิศทางการเรียนการสอน

#บุคคลธรรมดาจะคว้าสิ่งที่ยิ่งใหญ่

#สาขาวิชาสตินวัตกรรมและสันติศึกษา

#การบริหารหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก

#มอบนโยบายและแนวทางการจัดการเรียนการสอนและการบริหารหลักสูตร

#ผลลัพธ์ด้านกายภาพผลลัพธ์ด้านพฤติภาพผลลัพธ์ด้านจิตตภาพผลลัพธ์ด้านปัญญาภาพ

#สันติศึกษากรอบอริยสัจโมเดลขัดแย้งคือทุกข์รุนแรงคือสมุทัยสันติภาพคือนิโรธสันติวิธีคือมรรค


๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๗ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือทิศทางการเรียนการสอนและการบริหารหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาสตินวัตกรรมและสันติศึกษา ทั้งภาคไทยและภาคอินเตอร์ โดยมีพระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสตินวัตกรรมและสันติศึกษา มจร มอบนโยบายและแนวทางการจัดการเรียนการสอนและการบริหารหลักสูตร สะท้อนประเด็นสำคัญว่า การศึกษาสันติศึกษาถือว่าเป็นเทรนของโลกแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ พระพุทธเจ้า สนฺติ เมว สิกฺขาย พึงศึกษาสันติเท่านั้น และจงพอกพูนและพัฒนาสันติเท่านั้น ถือว่าเป็นประโยชน์สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งองค์การสหประชาชาติมุ่ง SDG การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมุ่ง “สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นภายนอก” แต่ขาดภายในคือ วิธีคิด IDG จึงมุ่งเกี่ยวข้องกับความสุขของมนุษย์ซึ่งเป็นสันติภายใน จึงมองเรื่อง “สติ สันติภาพ”


สันติศึกษาสามารถแบ่งออก ๒ ประการคือ “สันติ กับ ศึกษา” เป้าหมายของสันติคือนิพพาน โดยสันติมอง ๒ มิติประกอบด้วย “สมมติสันติ สังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติ ปรมัตสันติ เป็นสันติที่อยู่ภายใน ซึ่งนิโรธของสันติคือนิพพาน คำถามศึกษาอย่างไรจะเข้าถึงสันติจึงต้องเรียนรู้ผ่านไตรสิกขา ซึ่งมีกรอบใหญ่คือ มรรค ๘ ตั้งแต่สัมมาทิฐิเป็นฐาน ในการแบ่งกลุ่มรายวิชาจึงแบ่งออก ๓ ประการ ประกอบด้วย “กลุ่มวิชาปัญญา กลุ่มวิชาพฤติกรรม และกลุ่มวิชาสติและสันติภายใน” แต่สันติศึกษาในทางโลกมุ่งเอาแนวคิดทฤษฎีตะวันตกมุ่งแต่ปัญญาอย่างเดียว ซึ่งสันติศึกษา มจร มุ่งกระบวนการโดยมีองค์รวมมีที่มาที่ไปว่าพึงศึกษาสันติเท่านั้น และกระบวนการคือจงพอกพูนและพัฒนาสันติ คือ พุทธสันติวิธี รายวิชาที่ออกแบบจึงมีความสอดคล้องกับสันติภายในและสันติภายนอก ซึ่งกรอบแนวคิดของสันติศึกษาเดินตามกรอบของไตรสิกขาประกอบด้วย “กลุ่มวิชาด้านปัญญา (ปัญญาสิกขา) กลุ่มวิชาด้านพฤติกรรม (สีลสิกขา) และกลุ่มวิชาด้านสติและสันติภายใน (จิตตสิกขา)”


จึงนำไปสู่ “สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี” โดยมองไปถึงผลลัพธ์ส่งผลกระทบต่อบุคคล ชุมชน องค์กร สังคม ซึ่งนิสิตที่จบไปเกิดผลกระทบต่อสังคมอย่างไรเป็น จึงมองผลผลิตคือ Output คุณภาพของนิสิต จบการศึกษา ได้เครื่องมือ นำไปสู่ผลลัพธ์คือ Outcome เป็นผลที่เกิดขึ้นต่อยอดจากผลผลิต นำไปสู่ผลผระทบคือ Impact ทำให้เกิดสังคมการเปลี่ยนแปลงอย่างไรต่อบุคคล ชุมชน องค์กร สังคมและประเทศ ซึ่งเกิดผลเป็นตัวชี้วัดผ่าน ๔ ภาพ ประกอบด้วย ๑)ผลลัพธ์ด้านกายภาพ ๒)ผลลัพธ์ด้านพฤติภาพ ๓)ผลลัพธ์ด้านจิตตภาพ ๔)ผลลัพธ์ด้านปัญญาภาพ ซึ่งกระบวนการพัฒนาเป็นไตรสิกขามุ่งการพัฒนาผ่านคำว่า “เอาธรรมลงไปทำ” ซึ่งภาวนา ๔ เป็นธรรมะผลลัพธ์แต่ต้องก่อนประเมินผลจะต้องลงไปทำจริงมีการประเมินก่อนหลัง


โดยสันติศึกษาเป็นเทรนตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบันโดยมุ่งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น ซึ่งกระบวนการในการทำงานของพระพุทธเจ้ามีกระบวนการทำอย่างไร “จากเมื่อบุคคลธรรมดาจะคว้าสิ่งที่ยิ่งใหญ่” ซึ่งการศึกษาในมหาวิทยาลัยมุ่งแต่ศึกษาวิเคราะห์ ถอดบทเรียน แต่ยังไม่ได้ลงไปทำไม่ได้ลงไปปฏิบัติ โดยสันติศึกษามี ๔ ประเด็น ประกอบด้วย ๑)ขัดแย้งคือ ทุกข์ ๒)รุนแรงคือ สมุทัย ๓)สันติภาพคือ นิโรธ ๔)สันติวิธีคือ มรรค ซึ่งอริยสัจโมเดลเป็นฐานสำคัญในการศึกษาสันติศึกษาจึงต้องกลับมาที่ตัวสติเพื่อเข้าใจความจริงเห็นความขัดแย้ง สติจะสามารถทำให้เรามองเห็นความจริงของความขัดแย้ง โดยเป้าหมายคือสันติภาพ ความต้องการที่แท้จริง จึงต้องมองมรรคคือวิธีการ เป็นกลยุทธ์ที่นำไปสู่เป้าหมายคือนิโรธ พระพุทธเจ้าวางเป้าหมายก่อนแล้วหาวิธีการที่สู่เป้าหมายจึงต้องพัฒนาด้าน “สติเป็นฐาน” จึงจะนำไปสู่สันติภาพเป็นที่มาของ “หลักสูตรสตินวัตกรรมและสันติศึกษา” ซึ่งเวลาลงไปทำงานเรามองแต่ปัญหาแต่ขาดมรรคที่ถูกต้องคือสติ จึงเป็นที่มาของคำว่า “สติเมื่อใดสันติเมื่อนั้น” สันติภาพทุกลมหายใจ จึงเป็น “กระบวนการเรียนรู้สันติศึกษาที่มีสติเป็นฐาน”


คำว่า “สตินวัตกรรม” ปรารถนาต้องการเอาเครื่องมือไปใช้งาน เช่น หลักสูตรโค้ชสติ หลักสูตรครูสติ หลักสูตรวัดสติ โดยมีเครื่องมือในการพัฒนาสติและวัดสติ สามารถแบ่งออกเป็น “สติในชีวิตประจำวัน สติในชุมชน สติในสุขภาพ สติป้องกันซึมเศร้า สติกับผู้สูงวัย” โดยมุ่งให้สติไปพัฒนาตนเอง จากนั้นนำสติไปพัฒนาชุมชนสังคมเป็น “สังคมแห่งการตื่นรู้” เกิดสันติสุข จึงต้องออกแบบการเรียนรู้เกิด “ตัวรู้คือ สติ รู้ตัวคือสัมปชัญญะ” ผ่านกายเคลื่อนไหวใจรับรู้ เช่น หมอ มีความใจร้อน มีความเป็นตัวตน ซึ่งเป็นธรรมชาติของแต่ละคน จึงต้องวางรายวิชา กิจกรรมการเรียนรู้ จึงต้องวัด K S E C ประกอบด้วย “ความรู้ของนิสิต ทักษะของนิสิต จริยธรรมของนิสิต และลักษณะส่วนบุคคลของนิสิต” หน้าตาแต่ละข้อจะเป็นอย่างไร ซึ่งจุดเด่นของสันติศึกษาคือ “สติและสันติ” จะต้องมีการวัดผลนิสิตเป็นรายบุคคล ด้วย “การวัดสติของนิสิตและวัดสันติของนิสิต” โดยหลักสูตรสันติศึกษามี ๒ ประการ ประกอบด้วย


๑)การเรียนการสอน

โดยอาจารย์จะต้องเกี่ยวข้องกับนิสิต โดยงานของอาจารย์มี ๔ งาน ประกอบด้วย “การสอน การวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม” อาจารย์จะต้องทำภาระหน้าที่ของตนเองตามภาระงานตามมหาวิทยาลัยกำหนด ส่วนนิสิตจะต้องออกแบบการเรียนการสอน การศึกษาดูงาน กิจกรรมสำหรับนิสิต ต้องมีความสัมพันธ์กับ K S E C โดยนิสิตจะมีสองกลุ่มคือนิสิตที่กำลังเรียนและนิสิตกำลังทำโครงร่างเพื่อสอบวิทยานิพนธ์


๒)การบริหารหลักสูตร

ประกอบด้วย ผู้อำนวยการหลักสูตร เลขาหลักสูตร คณาจารย์ จะต้องมีภาระงานของแต่ละบุคคลให้ชัดเจน ติดตามผลการปฏิบัติงาน เป็นการบริหารประกอบด้วย “บริหารงาน บริหารคน บริหารเงิน” โดยคนใส่งานจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ซึ่งอนาคตจะต้อง “ทำแผนปฏิบัติการประจำปี” สำหรับปริญญาโทในภาคไทยโดยประมาณรายรับรายจ่ายประจำปี มีเงินเข้ามาเท่าใดจะจ่ายออกไปเท่าใด ซึ่งหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาโทจึงต้องใช้เงินหลักสูตรซึ่งไม่ได้เงินจากภาครัฐ จึงต้องพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง ผู้อำนวยการหลักสูตรกับเลขาหลักสูตรจะต้องมานั่งคุยกันว่าตลอดทั้งปีจะใช้งบประมาณเท่าใดอย่างไร เช่น อาจารย์พิเศษ ศึกษาดูงาน จะต้องใช้เงินเท่าไหร่อย่างไรตลอดทั้งปี จะต้องมองถึงรายรับและรายจ่ายเท่าใดผ่าน “แผนปฏิบัติการประจำปีของหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาโท” มีการประเมินรายรับรายจ่าย


โดยสันติไทยและสันติอินเตอร์มีความใกล้เคียงกัน ซึ่งสันติไทยเป็นการศึกษาสันติศึกษาในมิติของเมืองไทยจำนวน ๘๐ ล้านคนเป็นการดูแลสันติภาพในมิติของไทย ส่วนสันติอินเตอร์เป็นการศึกษาสันติศึกษา เป็นการดูแลสันติภาพระดับโลกดูแลประชากรประมาณ ๗,๐๐๐ ล้านคน ซึ่งงูพิษไม่เดินตามทับรอยกัน น่านน้ำจึงมีความสำคัญซึ่งปีนี้จะจัดด้วยกันในงานวันสันติภาพสากล จากนั้น รศ.ดร.โกนิษฐ์ สีทอง ได้สะท้อนการทำงานของคณาจารย์และภาระงานของคณาจารย์ โดยจัดการเรียนการสอนจะต้องมองถึง CLO ในแต่ละรายวิชา “มีผลลัพธ์การเรียนรู้” PLO ซึ่งเป็นภาพรวมจะต้องบอกว่ามาจากผู้มีส่วนได้เสียส่วนใด หลักสูตรจะต้องเข้าใจ PLO ของตนเองให้แจ่มแจ้ง มีกระบวนการสอนอย่างไร มีการประเมินผลอย่างไร ในระดับปริญญาโทจะต้องเตรียมในปี ๒๕๖๘-๒๕๖๙ จะมีการตรวจหลักสูตรที่มีระยะเวลาสั้นๆ มีการวัดและประเมินผลผู้เรียนอย่างไร ซึ่งข้อสอบอย่างไม่ได้แล้ว อาจจะ “เป็นชิ้นงาน การนำเสนอ รางวัลที่ได้รับ มีหลักฐานเชิงประจักษ์”


รวมถึงการบริหารหลักสูตรว่ามีการบริหารหลักสูตรอย่างไร จึงต้องประเมินหลักสูตรเก่าเพื่อสนับสนุนหลักสูตรใหม่ ซึ่งหลักสูตรสันติศึกษาไทยและอินเตอร์มีความเป็นจุดแข็งพระพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่ จุดอ่อนคณาจารย์ไม่ได้จบทางสายครุศาสตร์โดยตรง ใช้รูปแบบการสอนบรรยายไม่ได้จะต้องออกแบบกระบวนการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม จะต้องสอนเพื่อให้สร้างนวัตกรรม ซึ่งอาจารย์จะต้องออกแบบในการสอนที่สร้างนวัตกรรมต้องออกแบบเป็นโมดูลในการเรียนการสอน ซึ่งการออกแบบการเรียนการสอนจะวัดด้านใด ประกอบด้วย K S E C ประกอบด้วย “ความรู้ของนิสิต ทักษะของนิสิต จริยธรรมของนิสิต และลักษณะส่วนบุคคลของนิสิต


สาราณียธรรม

พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร.

โค้ชสันติ

กระบวนกรธรรมะโอดี

วิทยากรต้นแบบสันติภาพ

Buddhist Peace Facilitator

ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา

ระดับปริญญาโท มจร

ณ ห้องประชุมโรงแรมแคนทารี่ พระนครศรีอยุธยา

๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๗



Recent Posts

See All

Comments


bottom of page