top of page

ขับเคลื่อนงานสันติวิธีและกระบวนการไกล่เกลี่ยพร้อมสิทธิมนุษยชน

#เลขาธิการ

#สถาบันนิติวัชร์

#สำนักงานอัยการสูงสุด

#เตรียมลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับมหาจุฬา

#ขับเคลื่อนงานสันติวิธีและกระบวนการไกล่เกลี่ยพร้อมสิทธิมนุษยชน


๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์, ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา และผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้การต้อนรับหม่อมหลวงศุภกิตติ์ จรูญโรจน์ เลขาธิการสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมนายรวินท์ ชัยติวัตรภักดี อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งประสานงานโดย นายสุทธิธรรม รัตนแสนยานุภาพ เลขานุการศาลอาญาพระโขนง ณ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร

โดยมีวาระสำคัญเพื่อการพูดคุยในความร่วมมือทางวิชาการ MOU ระหว่าง สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด กับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อขับเคลื่อนงานเกี่ยวกับพุทธสันติสันติวิธี การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน เพราะอัยการทำงานเกี่ยวกับความขัดแย้ง เกี่ยวกับคดีความ เกี่ยวกับความทุกข์ และเกี่ยวกับคดีความ จึงจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือเกี่ยวกับพุทธสันติวิธี

ทำให้สอดรับกับ Juvenile Justice ผู้พิพากษาหญิงเหล็กศาลเยาวชน สอดรับว่า “ฉันเกลียดผู้ต้องหาเยาวชนกล้าดียังไงถึงมาทำความผิดทั้งที่อายุยังน้อย” สะท้อนเรื่องราวของ Juvenile Justice หรือ หญิงเหล็กศาลเยาวชน นับเป็นซีรีส์กฎหมายออริจินัลคอนเทนต์ของ Netflix เกี่ยวกับการสืบคดีที่ดำเนินเรื่องหลักๆ ในกระบวนการศาลยุติธรรม ผู้พิพากษาหญิงแกร่งที่ไม่ค่อยถูกโรคกับอาชญากรเยาวชน เพราะเด็กเหล่านี้รู้ว่าต่อให้เลวร้ายแค่ไหน ถ้าอายุยังไม่ถึง ๑๔ ปีจะไม่ต้องติดคุก นั่นเป็นช่องโหว่ของระบบที่ทำให้เธอต้องรับมือกับผู้ต้องหาเยาวชน ลบอคติในใจ และยึดมั่นในกระบวนการยุติธรรมอย่างถึงที่สุด เพื่อลงโทษผู้กระทำผิดให้ได้รับบทเรียน

“ฉันเกลียดผู้ต้องหาเยาวชน กล้าดียังไงถึงมาทำความผิดทั้งที่อายุยังน้อย” คือคำพูดของ ซิมอึนซอก ผู้พิพากษาแถวหน้า ที่เป็นคนเย็นชา รักษาระยะห่างกับคนอื่นอยู่เสมอ และเป็นที่รู้กันดีว่าเธอไม่ชอบผู้กระทำผิดที่ยังเป็นเยาวชน นั่นเป็นเพราะในอดีตเธอเคยตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรุ่นเยาว์ จนไม่อาจลืมเลือนเหตุการณ์นั้นได้

Juvenile Justiceเล่าถึง ซิมอึนซอก ที่ได้รับแต่งตั้งให้ไปเป็นผู้พิพากษาคนใหม่ประจำศาลเยาวชนเขตยอนฮวา ซึ่งเป็นเขตหนึ่งที่มีเยาวชนกระทำผิดมากที่สุด เธอได้ตัดสินใจหลายอย่างที่แหวกแนวไปจากคำพิพากษาที่มีมาก่อนหน้า เพราะเธอพบว่าการกระทำผิดเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ ที่เด็กต้องเผชิญในสังคม และสังคมเองส่งผลอย่างไร เมื่อเลือกที่จะปิดประตูต้อนรับเด็กที่กระทำผิด ทำให้พวกเขาไม่อาจกลายเป็นคนที่ดีขึ้น

มองในมุมหนึ่ง อาจเป็นสังคมอันโหดร้ายนี้เองหรือเปล่าที่ปลูกฝังและสร้างอาชญากรเยาวชนเหล่านี้ขึ้นมา ซีรีส์ Juvenile Justice จึงเป็นอีกหนึ่งเสียงที่พยายามจะส่งสารว่าสังคมเองมีส่วนต้องรับผิดชอบต่อการกระทำอันผิดจริยธรรมและผิดกฎหมายของเยาวชนด้วยเช่นกัน Juvenile Justice นำแสดงโดย คิมฮเยซู หญิงแกร่งจากซีรีส์ Signal และล่าสุดกับบทบาทในกระบวนการยุติธรรมจากซีรีส์ Hyena ที่ทำให้เราเชื่อใจได้เลยกับการแสดงเข้าถึงอารมณ์ และการเชือดเฉือนกันอย่างดุเด็ดเผ็ดมันในชั้นศาล

คิมมูยอล รับบท ชาแทจู เขาเติบโตมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย แต่เอาชนะมันมาได้ และกลายเป็นผู้พิพากษาหลังจากผ่านการสอบเทียบชั้นไฮสคูลจนได้เข้ามหาวิทยาลัย สำหรับชาแทจู เขาแตกต่างจากซิมอึนซอกเหมือนขาวกับดำ เพราะเขาเชื่อในโอกาสที่สองที่ทุกคนควรได้รับ เพื่อเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนที่ดีขึ้น

อีซองมิน รับบท คังวอนจุง หัวหน้าผู้พิพากษาที่เคารพหลักการ เขาเป็นสมาชิกของศาลเยาวชนมาถึง ๒๒ ปี เป็นคนที่มองโลกตามความเป็นจริง โดยเฉพาะเรื่องกฎหมายที่จะอยู่ในกรอบกำหนด นั่นทำให้เขามีความขัดแย้งกับซิมอึนซอกที่มักจะข้ามเส้นอยู่เสมอ

อีจองอึน รับบท นากึนฮี หัวหน้าผู้พิพากษาที่เย็นชาและไม่ใจดีกับใครนัก เธอจัดการกับอาชญากรรุ่นเยาว์ตามวิธีปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เธอยังเชื่อในความรวดเร็วของการจัดการ นั่นทำให้เธอต้องเผชิญหน้ากับซิมอึนซอกที่มักจะใช้เวลาในการขุดหาลึกลงไปในแต่ละคดี

Juvenile Justice เป็นงานกำกับโดย ฮงจงชาน ที่เราคาดหวังมากๆ เพราะที่ผ่านมาซีรีส์หลายเรื่องของเขาทำออกมาดีมาก ไม่ว่าจะเป็น Life (2018) ที่ตีแผ่เรื่องปัญหาการเมืองและธุรกิจในโรงพยาบาล, Dear My Friends (2016) ความสัมพันธ์ของกลุ่มผู้สูงวัย และ Her Private Life (2019) หญิงสาวที่มีโลกสองใบที่แตกต่างกันสิ้นเชิง

นักเขียนบท คิมมินซอก ได้ให้สัมภาษณ์ถึงซีรีส์ Juvenile Justice ว่า เธอเองต้องการนำเสนอแง่มุมและความคิดเห็นที่หลากหลายต่อตัวเยาวชนผู้กระทำผิด โดยผ่านการทำงานของผู้พิพากษา ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่มีความเชื่อเป็นของตัวเอง เพราะฉะนั้นนักสืบซีรีส์ที่ชื่นชอบประเด็นสังคมและการเชือดเฉือนกันในชั้นศาล เตรียมตัวเข้าฟังคำตัดสินในศาลเยาวชน

โดยวิเคราะห์ผ่านพุทธสันติวิธีจากเรื่องราวสะท้อนถึงปัญหาสังคมโดยสถาบันครอบครัวจะต้องใส่ใจเด็กเยาวชน เพราะเด็กเยาวชนสามารถยกระดับไปสู่การใช้ความรุนแรงและนำไปสู่สงครามได้ โดยผ่านปธาน ๔ ในทางพระพุทธศาสนาคือ ป้องกันความรุนแรงในเยาวชน แก้ไขความรุนแรง เยียวยาจากความรุนแรง และรักษาให้เกิดความยั่งยืน มองความขัดแย้งผ่านอริยสัจคือ ประเด็นปัญหาคืออะไร สาเหตุมาจากอะไร เป้าหมายคืออะไร และวิธีการแก้ไขอย่างไร และสร้างสันติสุขผ่านภาวนาคือ พัฒนาด้านกาย พัฒนาด้านพฤติกรรม พัฒนาด้านจิตใจ และพัฒนาปัญญา


สาราณียธรรม

พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร.

เลขาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร

ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา

ณ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร

๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖


33 views0 comments

Comments


bottom of page